Wellcome to my blog>>>ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมนะ !!! ^_________________^

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ระบบทางเดินอาหาร



ระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ คือกระบวนการในการย่อยอาหารจากโมเลกุลขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็ก
พอที่จะดูดกซึมเข้าสู่ร่างกายได้ เำืพื่อให้เซลของร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์




ระบบทางเดินอาหารของมนุนย์ประกอบด้วย
1.ปาก(Mouth)
2.คอหอย(Pharynx)
3.หลอดลม(Esophagus)
4.กระเพาะอาหาร
1.ปาก(Mounth) ประกอบด้วย

1.1ริมฝีปาก

1.2 ลิ้น

1.3ฟัน
1.1 ริมฝีปาก (Lip) เป็นกล้ามเนื้อเรียบชนิด ออบิคูลารีส (Orbicularis Oris)
และบัคชิเนเตอร์ (Buccinator) ภายในช่องปากแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ด้านคือ
1.1.1 พื้นด้านหน้า ได้แก่ ริมฝีปาก
1.1.2 พื้นที่ด้านข้าง ได้แก่ แกล้มทั้งสองข้าง
1.1.3 พื้นที่ด้านบน เป็นเพดานแข็ง (Hard Palate) และเพดานอ่อน (Solf Palate)
1.1.4 พื้นด้านล่างได้แก่ลิ้น
1.2 ลิ้น (Tongue)

ลิ้นทำหน้าที่ทำความสะอาดพัน ช่วยในการกลืนอาหารใช้ในการรสของอาหาร
โดยมีปุ่มรับรส (Taste Bud)อยู่มากมายบนผิวด้านบนของตัวลิ้น นอกจากนั้นยัง
ทำหน้าที่คลุกเค้าอาหารกับนํ้าลาย ซึ่งเป็นนํ้าย่อยชนิดดหนึ่งที่ผลิต มาจาก
นํ้าลาย(Salivary Gland)ต่อมนํ้าลายเป็นต่อมที่มีอยู่ ในปาก ทำหน้าที่
สร้างนํ้าลาย(Salivary)มีทั้งหมด 3คู่คืิอ
1.ต่อมนํ้าลายใต้หู เป็นต่อมขนาดใหญ่อยู่ตรงกกหูด้านล่างมีทางเปิดอยู่บริเวณฟันกรามบนคู่ที่ 2
ถ้าต่อมนี้อักเสบอันเกิดจากไวรัสจะทำให้เกิดโรคคางหมู (Mump)
2.ต่อมนํ้าลายใต้กรรไกร เป็นต่อมที่มีรูปร่างคล้ายไข่ อยู่ตรงมุมของกรรไกรล่างมีทางเปิด
อยู่บริเวณโคนลิ้น
3.ต่อมนํ้าลายใต้ลิ้น จะอยู่ใต้ลิ้นทั้งสองข้าง มีทางเปิดใกล้กับทางเปิดจากต่อมนํ้าลายใต้กรรไกร
ในวันหนึ่งๆ นํ้าลายจะถูกกลั่นออกมาประมาณ 1.5 ลิตร นํ้าลายที่หลั่งออกมาจะมีฤิทธิ์เป็นกลาง
หรือเป็นกรดนิดหน่อย (pH 6.0 - 7.0)จึงทำให้แคลเซียมในฟันไม่ถูกละลายออกมาเพราะแคลเซียมจะคงตัว
อยู่ในสารละลายที่เป็นกลาง นอกจากนี้นํ้าลายยังมีสารมิวชิน (Mucin)ทำหน้าที่เคลือบอาหารทำให้อาหาร
ถูกกลืนได้ง่าย และยังเคลือบกระเพาะอาหารและลำไล้ เพื่อป้องกันไม่ให้นํ้ย่อยกัดกระเพาะอาหารและลำไส้
เวลาหิว และนํ้าลายยังมีนํ้าย่อย ไทยาลิน (Ptyalin) หรือ ชาลอวารีอะไมเลส(Salivary Amylase)
ย่อยคาร์โบไฮเดรตให้เป็นนํ้าตาลดมเลกุลคู่(Disaccharide)จึงทำให้เรารับรสหวานประเภทจำพวกคาร์โบไฮเดรต

1.3 ฟัน (Teeth)

ฟันทำหน้าที่ กัด ฉีก บดอาหารให้ละเอียด และช่วยในการออกเสียง เวลาพูดฟันของคนเรามี 2 ชุด ชุดแรกเป็นฟันนํ้านมมี 20 ซี่ ข้างบน 10 ซี่ ข้างล่าง 10 ซี่ ฟันนํ้านมจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุประมาณ 2 ขวบ ส่วนฟันชุดที่สอง
เป็นฟันแท้มี32 ซี่ ข้างบน 16 ซี่ ข้างล่าง 16 ซี่ จะขึ้นมาแทนที่ฟันนํ้านมตั้งแต่อายุ 6 ปี จนถึงอายุประมาณ 25 ปี ฟันประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่คือ
1.3.1 ส่วนประกอบภายนอก
1.3.2 ส่วนประกอบภายใน


1.3.1 ส่วนประกอบภายนอกฟันมี 3 ส่วน คือ
ก. รากฟัน (Rooot) เป็นส่วนที่ฝังอยู่ในเหงือกมีจำนวน 1 - 3 รากแล้วแต่ชนิดของฟัน
ข. คอฟัน(neck) เป็นช่องมีลักษณะคอดตัวจากฟันลงมาอยู่ระหว่างตัวฟันกับรากฟัน
ค. ตัวฟัน (Cown) เป็นส่วนที่ยื่นขึ้นมาฟันเหงือก
1.3.2 ส่วนประกอบภายในฟันมี 3 ส่วน คือ
ก. เคลือบฟัน (Enamel) มีลักษณะแข็งและสีขาว เป็นส่วนที่แข็งที่สุดของฟันทำหน้าที่เคลือบตัวฟัน
ข. เนื้อฟัน (Dentine) เป็นส่วนที่ทำหน้าให้ฟันมีรูปร่าง มีช่องว่างอยู่ภายในเรียกว่า
พลับคววิตี้(Pulp Cavity)ซึ่งเสส้นเลือดฝอย หลอดนํ้าเหลือง และเส้นประสาททอดผ่านเข้ามาทางส่วนปลาย
ของรากฟันและมีรูปิตรงกลางของรากฟันทุกที่
ค. ซีเมน(Cement) เป็นส่วนที่หุ้มเนื้อฟันอยู่ตรงบริเวณรากฟัน
2. คอหอย (Pharynx)
คอหอยเป็นท่อที่อยู่ด้านหลังของหลอดลม ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอาหารจากปากไปยังหลอดอาหาร
มีกล้ามเนื้อเรียบอยู่จำนวนมาก เพื่อช่วยในการกลืนอาหาร

3.หลอดอาหาร(Esophagus)
หลอดอาหารเป็นท่อที่ต่อจากคอหอยไปยังกระเพราะอาหาร ยาวประมาณ 10 นิ้ว ทำหน้าที่เป็น
ทางผ่านของอาหาร โดยการบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้เกิดเป็นคลื่นที่เรียกว่า
พีรีสตาซีส(Peristalsis) เพื่อไล่อาหาร ลงสู่กระเพาะอาหาร
4. กระเพราะอาหาร(Esophagus)




กระเพาะอาหารทำหน้าที่ย่อยอาหารและเป็นที่พักอาหารชั่วคราว กระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
4.1 คาร์ดิอัสหรือฟันดัส (Cardius or Fundundus) เป็นส่วนบนของกระเพาะอาหารที่ต่อกับ
หลอดอาหาร มีสารมิวซิน (Mucin) ช่วยเคลือบอาหารเวลากลืน
4.2 บอดี (Body) เป็นส่วนกลางของกระเพาะอาหาร มีลักษณะเป็นรอยย่น(Fold) เพื่อที่จะขยายได้
เมื่อมีอาหารเต็มกระเพาะ ประกอบด้วยต่อมที่ทำหน้าที่ในการผลิตนํ้าย่อยมี 3 ชนิดคือ
4.2.1 พาเรียลทอลเซล (Parietal Cell) ทำหน้าที่สร้างและหลังกรดเกลือ (HCI)
เพื่อฆ่าแบดทีเรียที่ปะปนกับอาหาร ทำให้อาหารไม่บูดเน่าหรอเกิดการติดเชื้อขึ้น และยังกระตุ้นการเปลี่ยน
เปนซิโนเจน (Pepsinogen) ให้เป็นนํ้าย่อย เปปซิน (Pepsin) ที่ใช้ในการย่อยอาหาร
จำพวกโปรตีน (protein)
4.2.2 ซิบเซล(Chief Cell) ทำหน้าที่สร้างเปปซิโนเจน (Pepsinogen)
4.2.3 อินทรินซิกแฟกเตอร์ (Intrinsic Factor) เป็นสารประเภทไกลโคโปรตีน(Protein)
ไปรวมกับ วิตามิน บี 12 ( Vitamin B 12 ) เพื่อไปสร้างเม็ดเลือดแดง ถ้าขาดทำให้เป็นโลหิตจาง
4.2.4 เซอเฟสมัสคอดเซล(Surface Mucous Cell) ทำหน้าหน้าที่ในการสร้าง
นํ้าเมือก(Mucous) ออกมาเคลือบกระเพาะอาหาร เพื่อป้องกันการถูกย่อยจากนํ้าย่อย
4.3 ไพโลรัส (Pylorus) เป็นส่วนปลายล่างของกระเพาะอาหารต่อกับส่วนดูโอดีนัม
(Duodenum) ของลำไส้เล็ก
5.ลำไส้เล็ก (Small Intestune)

ลำไส้เล็กยาวประมาณ 280 เซนติเมตร เป็นท่อที่ต่อจาก ไพโลรัส(py lorus)ทำหน้าที่ย่อยอาหาร
ดูดซึม อาหารรับนํ้าย่อยจากตับ และนํ้าดีจากตับอ่อน แบ่งได้ 3 ส่วน คือ
5.1 ดูโอดีนัม(Duodenum) หรือลำไส้เล็กส่วนต้น ยาวประมาณ 22 เซนติเมตรมีลักษณะคล้ายตัว C
มีท่อนํ้าดี ี(ฺBile Duct ) และท่อนํ้าย่อยจากตับ ( Pancreatic Duct)
5.2 เจจูนัม (Jejunum) หรือลำไส้เล็กส่วนกลาง ยาวประมาณ 8 ฟุต มีลักษณะย่นรอบลำไส้
เพื่อเพิ่มพื้นที่ ในการดูซึมอาหาร และการย่อยอาหารที่ยังไม่เสร็จจากกระเพราะอาหารโดยอาศัย
นํ้าดี(Bile) จากตับช่วยทำให้ ไขมันกับนํ้าร่วมตัวกันได้ เพื่อให้ลำใส้เล็กสามารถดูดซึมไขมันได้ดีขึ้น
อินซูลิน (Insulin) และกูลคากอน (Glucagon) จากตัวอ่อน ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต
ให้พลังงาน และยังอาศัยนํ้ย่อยจากลำไส้เล็ก นอกจากนี้ลำไส้เล็กยังมีปุ่มเล็กๆ ยื่นออกมา มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ เรียกว่า วิลไล (Villi) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 4-6ล้านอันแต่ละอันประกอบด้วยนํ้าเหลือง (Lacteal) อยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยเส้นเลือดฝอยที่ประสานกัน
เป็นรากแห(Capillary Network) ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบ"ฮเดรตและไขมัน โดยโปรตีน
และ คาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยโปรตีนและคาร์โปไฮเดรตจะถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่เส้นเลือดฝอย
ส่วนไขมันจะถูกดูด ซึมผ่านเข้าสู่ท่อนํ้าเหลือง



5.3 อิเลียม (Ileum) หรือลำไส้เล็กส่วนปลายเป็นส่วนที่ยาวที่สุดของลำไส้เล็กมีความยาว
ประมาณ 12 ฟุตเริ่มจาก ส่วนปลายของเจจูันัม(Jejunum) ไปจนถึงลำไส้ใหญ่ส่วนตัน (Cecum)
6.ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine)
ลำไส้ใหญ่เป็นส่วนที่รับกากอาหารยาวประมาณ 5 ฟุต ทำหน้าที่ดูดนํ้านํ้าตาลกูลโคส ที่ยังเหลืออยู่
กับกากอาหาร เข้าสู่เส้นเลือดฝอย ภายในลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียอยู่มาก มีทั้งพวกที่มีประโยชน์ และพวกที่ไม่มีประโยชน์ที่ไม่ก่อให้เกิดโทษ
ในร่างกาย และถ้ามีเชื้ออื่นอยู่ภายในลำใส้ใหญ่ จะทำให้ลำใส้ใหญ่ถูกรบกวน ไม่สามารถดูดนํ้ากลับสู่ร่างกายได้
เกิดอาการ ท้องเดิน ถ้าอาการอยู่ในลำไส้นานเกินไปนํ้าจะถูกดูดซึม